Friday, November 6, 2015

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พื้นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พื้นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พื้นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ปัจจุบันทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเห็นได้จากการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์การวิจัยหลัก ซึ่ง 1 ใน 5 เป็นการให้ความสำคัญในการสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรทางการวิจัย โดยมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาการต่างๆ อย่างสมดุลและเหมาะสม จากข้อมูลจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ทำวิจัยเทียบเท่าเต็มเวลา (Full-time equivalent : FTE) 9.01 คนต่อจำนวนประชากร 10,000 คน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาประมาณ 21,494 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการใช้จ่ายด้านการวิจัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 0.24 เท่านั้น


เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนบุคลากรด้านวิจัยของไทยกับประเทศต่างๆ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเชีย ฟิลิปปินส์) แต่หากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลี ประเทศไทยถือว่ามีสัดส่วนบุคคลากรด้านการวิจัยต่ำกว่าประเทศดังกล่าวมาก เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ โดยพิจารณาจากสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้ พบว่า ครัวเรือนมีแนวโน้มว่าสามารถชำระหนี้ได้ไม่แตกต่างกันมากนักใน แต่ละปี ในขณะที่หนี้สินเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ




อย่างไรก็ตามการพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขัน พื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology : S&T) ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจะขาดเสียไม่ได้ หากพิจารณาบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้าน S&T ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ มีการศึกษาด้าน S&T และทำงานด้าน S&T จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในปี 2555 พบว่า จำนวนแรงงานด้าน S&T มีเพียง 3.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของกำลังแรงงานทั้งสิ้น (39.41 ล้านคน) ในจำนวนนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้จบการศึกษาและทำงานด้าน S&T 1.56 ล้านคน 2) ผู้จบการศึกษาด้าน S&T แต่ไม่ได้ทำงาน S&T 1.34 ล้านคน 3) ผู้ที่ไม่จบการศึกษาด้าน S&T แต่ทำงานด้าน S&T 5.8 แสนคน และ 4) ผู้จบการศึกษา S&T แต่ว่างงาน 4.5 หมื่นคน ดังนั้นหากประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นการสร้างรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคมอยู่เย็นเป็นสุข และสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันผลักดันการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และมุ่งเน้นการประยุกต์ผลจากการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งบุคลากรทางด้านการวิจัยและพัฒนาให้เพียงพอทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาวิจัยในแขนงวิชาต่างๆ จัดหลักสูตรให้เนื้อหาเชื่อมโยงกับวิชาการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน 

---
Credit: http://www.nso.go.th/

No comments:

Post a Comment

What suggestions do you have for female entrepreneurs that is not data, not technical?

Sam Altman | How to Get Funded by Y Combinator "28:06 Gloria and I'm curious to know earlier you mentioned that you guys are very ...